ตัวอย่างการทำห้องนอนเก็บเสียงจริงแบบ Full Option !!!
ที่มาของเสียงรบกวนรอบบริเวณบ้านเดี่ยว
- เสียงจากเครื่องขยายในที่สาธารณะ เช่น วัด โรงเรียน ลานกิจกรรม ห้างสรรพสินค้า
- เสียงจากยานพาหนะ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ เครื่องบิน รถไฟ (ทั้งรถราง และรถไฟฟ้า)
- เสียงจากกิจกรรมรอบๆ บ้าน เช่น มีการก่อสร้างใกล้ๆ บ้าน, เสียงเพื่อนบ้านเปิดลำโพงเสียงดัง หรือสังสรรค์พูดตะโกน โวยวาย
เสียงเข้ามาภายในบ้านเราได้ยังไงกัน ??
- เสียงพยายามเล็ดลอดเข้ามาตามรอยรั่ว ต่างๆ บริเวณโดยรอบบ้าน
- เสียง ทะลุผ่านผนัง กระจก ประตู ทึบแต่มีน้ำหนักเบาเข้ามาได้ตรงๆ
เสียงจะชอบวิ่งเข้าหาตามรอยรั่วภายในบ้านได้ดี และเราจะได้ยินเสียงที่วิ่งผ่านตามรอยรั่วได้ชัดกว่าเสียงที่วิ่งทะลุผนังตรงๆ !!
เริ่มแก้ไขปัญหาเสียงรบกวนทีละส่วน !! โดยตามหลักการแล้วควรจะทำตามลำดับดังต่อไปนี้
จากประสบการณ์แล้ว เสียงจะเข้ามาทางหน้าต่างประตูมากที่สุด โดยถ้าจะแก้ไขปัญหาเสียงจากภายนอกเข้ามาภายในห้อง ให้แก้ไขหน้าต่างประตูกระจกก่อนครับ
โดยหลายคนจะชอบสอบถามว่า รื้อหน้าต่างประตูเดิมแล้วใส่อันใหม่ที่กันเสียงได้ดีจะเวิร์คไหม คำตอบคือ ไม่เวิร์กเสมอไปครับ เพราะเคยเจอหลายเคสบ่อยๆ ที่แม้จะรื้อของเก่าออกและเปลี่ยนประตูหน้าต่างใหม่ไปแล้ว แต่กลายเป็นว่าเสียงก็ยังคงทะลุกระจก และผนังปูนตรงๆอยู่ดี แม้จะเงียบลงแต่ยังเงียบไม่พอสำหรับการใช้งาน
ดังนั้นโซลูชั่นที่ทางวิศวกรแนะนำคือการ เสริมระบบผนังเบากันเสียง เพิ่มจากผนังเดิมไปเลยครับ จะปิดช่องประตู หน้าต่างไปเลย หรือหากยังต้องการแสงสว่างก็ให้ติดตั้งหน้าต่าง หรือประตูกันเสียงเพิ่มเข้าไปอีกชั้น โดยควรใช้ขนาดประตูหน้าต่างมีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่รับได้ ซึ่งวิธีนี้มีประโยชน์หลายข้อคือ
- ทำให้ผนังเดิมกันเสียงดีขึ้นมาก
- ประตู หน้าต่าง อีกชั้น รวมกับของเก่าทำให้ยิ่งกันเสียงดีเพิ่มขึ้น
- การรื้อประตู หน้าต่างเดิมออก สร้างความเสียหายให้กับผนัง และถ้าเป็นคอนโด หรืออาคารที่คุณไม่ได้เป็นเจ้าของเอง ก็อาจจะไม่ยอมให้รื้อเปลี่ยน
โดยขั้นตอนในการติดตั้งมีดังต่อไปนี้ครับ
กรณีแรก ทำผนังทับประตูหน้าต่างไปเลย ซึ่งวิธีนี้จะกันเสียงได้ดี แต่ก็ทำให้ช่องเปิดเพื่อให้แสงเข้า หรือการระบายอากาศหายไป
รูปแรก ทำการปิดหน้าต่างด้วยแผ่น ยิปซั่มก่อน 1 ชั้น
รูปที่สอง ติดตั้งโครงผนังเบาเพิ่ม 1 ชั้น
รูปที่สาม กรุฉนวนกันเสียงให้เต็มพื้นที่ผนัง
โดยรายละเอียดการติดตั้งผนังเป็นไปตามรูปด้านล่างนี้ ซึ่งการติดตั้งระบบผนังเบากันเสียงเข้าไปจะช่วยให้ค่าการกันเสียงเพิ่มสูงขึ้น
กรณีที่สอง หากไม่สามารถปิดทึบได้ทั้งหมดเลย อยากได้แสงหรือช่องเปิดระบายอากาศ การติดตั้งระบบกระจกที่กันเสียงได้ดี เช่น หน้าต่างวินเซอร์รุ่น Signature ที่ใช้กระจกความหนาอย่างน้อย 10 มม โดยถ้าเป็นกระจกลามิเนตก็จะยิ่งดี ข้อสำคัญคือห้ามใช้หน้าต่างแบบบานเลื่อนเด็ดขาด ต้องใช้เป็นหน้าต่างหรือประตูแบบบานเปิดเดี่ยวเท่านั้น !!! เพราะหน้าต่างบานเลื่อนมีรอยรั่วเยอะทำให้เสียงลอดผ่านออกมาได้ดี
จะเห็นได้ชัดเจนว่า กระจก 2 ชั้น (กระจกหนา 5 มิลลิเมตร และ 10 มิลลิเมตร โดยกระจกมีระยะห่างอย่างน้อย 10 เซนติเมตร)
ทำให้ค่า STC ของระบบเพิ่มขึ้นจาก 30 ไปเป็น STC 50
รูปที่หนึ่ง ผนังด้านที่เสียงเข้า โดยมีหน้าต่างบานเลื่อน ซึ่งเสียงเข้ามาง่ายจากรอยรั่วรอบๆ หน้าต่างบานเลื่อน
รูปที่สอง ทำการติดตั้งระบบผนังกันเสียงรอบๆ หน้าต่าง เพื่อเพิ่มการกันเสียงให้กับผนังปูน และจะเป็นตัวรองรับกระจกกันเสียงชุดใหม่ที่จะติดเพิ่ม
รูปที่สาม ติดตั้งหน้าต่างกันเสียงเข้าไป โดยกระจกด้านซ้ายจะเป็นบานตาย และด้านขวาเป็นบานเปิดเดียว โดยดึงเข้ามาในห้อง
คลิปทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงของระบบหน้าต่างกันเสียงที่ติดตั้งเพิ่มเข้าไป
คอมเม้นต์จริงจากเจ้าของห้องที่ใช้ทำการติดตั้ง
กรณีที่สาม หากต้องการประตูเพื่อเปิดออกไปด้านนอกเช่น ระเบียงหรือภายนอกบ้าน โดยประตูถือเป็นจุดอ่อนที่สำคัญในการป้องกันเสียงทางวิศวกรขอแบ่งสาเหตุการแก้ไขปัญหาเป็นดังต่อไปนี้
การติดตั้งประตูกันเสียงก็จะมีหลักการเหมือนกับติดตั้งหน้าต่างกันเสียง
สำหรับประตู เราจะทำผนังกันเสียงโดยให้ห่างจากผนังเดิมประมาณ 15 ซม เพื่อให้สามารถทำความสะอาดช่องว่าได้ ติดตั้งประตูกันเสียงแบบบานเปิดเดี่ยว โดยดึงเข้ามาภายในห้อง ดังแสดงในรูปด้านล่าง
หากเสียงที่เข้ามาในห้องเสียงดังมากๆ เช่นเสียงจากเครื่องบินบินผ่าน เสียงจากผับเทค หรือเสียงรถใหญ่วิ่งผ่าน เสียงที่ดังมากจะสามารถเข้ามาทางฝ้าชายคาและหลังคา ทะลุผ่านฝ้าและรูช่องดาวไลต์เข้ามาในห้อง
กรณีแบบนี้ หนีไม่พ้นอาจจะต้องทำฝ้า 2 ชั้น !!!
หากต้องการป้องกันเสียงจากฝ้า โคมไฟดาวไลท์ เป็นสิ่งต้องห้าม แนะนำให้ทำฝ้าซ่อนด้านข้าง หรือโคมไฟติดบนฝ้า (หรือที่เรียกว่าโคมไฟซลาลาเปาแทน)
รูปแรก ทำการรื้อฝ้าทีบาร์เดิมออก ฝ้าทีบาร์ แทบจะพูดได้ว่าไม่สามารถกันเสียงได้เลย
รูปที่สอง หากเป็นฝ้าฉาบเรียบเดิม ก็สามารถทำเพิ่มจากฝ้าเดิมได้โดยการเดินโครงด้านล่างของฝ้าเดิมดังรูป
รูปที่สาม เมื่อรื้อฝ้าฝ้าเดิมแล้ว ก็ทำการติดตั้งฝ้าชั้นแรก
รูปที่สี่ ระหว่างทำฝ้าชั้นแรกให้ผูกลวดและแหย่ลวดทะลุฝ้าชั้นแรกลงมา เพื่อผูกโครงของฝ้าชั้นที่สอง ต่อไป
รูปที่ห้า กรุฉนวนกันเสียงบนโครงฝ้าชั้นที่สอง เพื่อเพิ่มการกันเสียง
รูปที่หก ทำการปิดแผ่นฝ้าช้นที่สองหลังจากกรุฉนวนกันเสียงทั้งหมดแล้ว ฉาบรอยต่อและอุดรอยรั่วทั้งหมดให้เรียบร้อย