หลายท่าน ได้สอบถามในกรณีที่ ออฟฟิตสำนักงานที่ตั้งอยุ่ภายในโรงงานมีเสียงดัง และต้องการปรับปรุงเพื่อให้ตัวออฟฟิต ลดเสียงดังจากการทำงานภายในโรงงานได้ในระดับที่คนที่อยู่ในออฟฟิตสามารถทำงานได้
วันนี้วิศวกรเลย นำเสนอรายละเอียดวิธีการในการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงดังจากกระบวนการผลิตที่ทะลุเข้ามายังภายในตัวออฟฟิตสำนักงานอย่างมีประสิทธิภาพครับ
สาเหตุที่เสียงเดินทางเข้ามายังภายในออฟฟิตสำนักงาน
หลักๆเลยนั้น เสียงที่จากกิจกรรมภายในโรงงานที่ทะลุผ่านเข้ามาภายในออฟฟิต จะประกอบด้วยเสียง 3 ส่วนหลักๆ คือ
- เสียงทะลุผ่านผนัง คือเสียงที่เดินทางทะลุผ่านผนังตรงๆ เข้ามายังภายในห้องสำนักงาน เกิดจากผนังเป็นผนังแบบก่ออิฐมวลเบาน้ำหนักน้อย หรือ ผนังสำเร็จรูปที่มีน้ำหนักเบา หรือ ผนังเบาที่ไม่ได้ติดตั้งฉนวนกันเสียง จะมีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงที่น้อย เสียงจากภายนอกจึงทะลุเข้ามาได้มาก โดยวิธีการปรับปรุง เราจะทำการติดตั้งระบบผนังเบาเพิ่มเติมอีกชั้นด้านในห้อง โดยมีการกรุฉนวนป้องกันเสียง เช่น ฉนวนกันเสียง ISONOISE และปิดด้วยแผ่นยิปซั่ม 12 มม 2 – 3 ชั้น เพิ่มเติม เพื่อให้ผนังมีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
- เสียงทะลุผ่านประตู หน้าต่าง ที่อยู่ภายในออฟฟิต โดยเฉพาะหน้าต่าง ประตูบานเลื่อน จะมีรอยรั่วตามขอบบานกับวงกบค่อนข้างเยอะ เสียงจะทะลุผ่านไปได้ดีมากๆ โดยจากการทดลองวัดเสียง ประตูบานเลื่อน จะกันเสียงได้แค่ 5-10 เดซิเบลเท่านั้น ซึ่งไม่พอแน่ๆครับ จากที่เคยวัดระดับเสียงดังในโรงงานที่เสียงค่อนข้างดัง จะมีค่าระดับเสียงอยู่ที่ประมาณ 85-100 เดซิเบล ซึ่ง เสียงยังทะลุเข้ามาในห้องได้ค่อนข้างเยอะ ดังนั้นวิธีการแก้ไขเราจึงนิยมติดตั้งระบบหน้าต่างที่มีคุณสมบัติป้องกันเสียงได้ดี โดยรูปแบบหน้าต่างหรือประตู จะเป็นแบบ บานสวิง หรือบานตาย ซึ่งเปิดไม่ได้เลย ซึ่งเป็นระบบที่มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงที่ดีครับ
- เสียงทะลุผ่านฝ้าเพดาน ฝ้าเพดานภายในโรงงานนนั้นส่วนใหญ่จะเป็นฝ้าทีบาร์ หรือฝ้าฉาบเรียบชั้นเดียว และมีการเจาะช่องดาวไลต์ ซึ่งถือว่าเป็นจุดอ่อนที่มีพื้นที่ใหญ่มาก ที่เสียงรบกวนจะเดินทางเข้ามายังภายในห้องออฟฟิตสำนักงานได้เป็นปริมาณมาก เสียงรบกวนสามารถเดินทางผ่านรูเจาะของช่องดาวไลต์ลงมาแล้วทะลุผ่านฝ้าฉาบเรียบหรือตามรอยต่อของฝ้าทีบาร์ จากประสบการณ์ของวิศวกรนั้น โดยส่วนใหญ่เสียงที่มาจากฝ้าเพดาน ถือเป็นสาเหตุหลักของที่ทำให้เสียงรบกวนเข้ามายังภายในห้องได้มากที่สุดอีกด้วย โดยวิธีการแก้ไข ทำได้โดยการถูกลวดจากโครงหลังคาและเจาะร้อยทะลุฝ้าเดิมของห้องลงมา เพื่อทำการผูกโครงฝ้าฉาบเรียบใหม่อีกชั้นใต้ฝ้าเดิม ทำการกรุฉนวนกันเสียง ISO NOISE ระหว่างฝ้าชั้นแรกและฝ้าชั้นที่สอง หลังจากนั้นให้ทำการจึงทำการยิงแผ่นฝ้ายิปซั่มความหนา 12 มม 2 ชั้น ทำการโป้วฉาบเพื่อป้องกันรอยรั่วของอากาศตามรอยต่อ สิ่งสำคัญที่สุดคือ โคมไฟที่ฝ้าเพดานจะต้องประยุกต์มาใช้โคมไฟแบบติดตั้งลอยตัว ห้ามเจาะฝังเข้าไปในฝ้า เพราะจะทำให้เสียงทะลุผ่านไปได้ เท่ากับว่าหากเราเจาะรูที่ฝ้าเพดาน ระบบฝ้ากันเสียงที่พยายามทำก็จะสูญเปล่าโดยทันที
- เพิ่มเติมในกรณีของการปรับปรุงระบบผนัง ประตูหน้าต่าง และฝ้าเพดานกันเสียงนั้น ส่วนใหญ่ภายในห้องสำนักงานจะมีเสียงก้อง จึงแนะนำให้ทำการติดตั้งแผ่นดูดซับเสียงแบบทากาวติดบนฝ้าเพดานฉาบเรียบ M board ให้เต็มพื้นที่ฝ้าเพดาน ซึ่งจะช่วยดูดซับเสียงก้องสะท้อนภายในออฟฟิต จะยิ่งช่วยให้สภาพแวดล้อมภายในห้องออฟฟิตสำนักงานเหมาะสมในการทำงานที่จะต้องใช้สมาธิหรือการพูดคุยสื่อสาร ได้อย่างดีเยี่ยมครับ
ตัวอย่างการติดตั้งระบบผนังกันเสียงภายในออฟฟิตสำนักงาน
รูปแบบกระจกที่ติดตั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเสียง
รูปแบบการทำระบบฝ้ากันเสียงใต้แผ่นฝ้ากันเสียงเดิม
การติดตั้งแผ่นฝ้าอคูสติกดูดซับเสียง เพื่อควบคุมเสียงก้องภายในออฟฟิต