1. สรุปกฏหมายใหม่ ปี 59 เรื่องเสียงที่ถูกกำหนดขึ้น
อ้างอิงจาก กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ได้กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระดับเสียงที่ผู้ปฏิบัติสัมผัสดังต่อไปนี้
1.1 นายจ้างต้องควบคุมมิให้ลูกค้าจ้างสัมผัสเสียงที่มีค่าระดับเสียงสูงสุด (Peak sound pressure level) ของเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก (Impact of impulse noise) เกิน 140 เดซิเบลซี
1.2 นายจ้างต้องควบคุมมิให้ลูกค้าจ้างสัมผัสเสียงที่มีระดับความดังต่อเนื่องแบบคงที่สูงสุด (LAmax) เกินกว่า 115 เดซิเบลเอ
ตัวอย่างหน้าจอการตรวจวัดค่า LCpeak และ LASmax ตามที่กฎหมายกำหนด
1.3 นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับตลอดเวลาทำงานแต่ละวัน (Time weighted Average –TWA 8 hours) ไม่เกิน 85 dBA
1.4 หากในสถานที่ทำงานค่าระดับเสียงเกินกว่าที่กำหนดในข้อ 1.1 – 1.3 นายจ้างต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
1.4.1) ให้ หยุดทำงาน และปรับปรุงแก้ไขทางด้านวิศวกรรม โดยควบคุมที่ต้นกำเนิดเสียง หรือทางผ่านของเสียง หรือจัดการเพื่อควบคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับไม่ให้เกินกำหนด
1.4.2) จัดให้มีการปิดประกาศและเอกสารหรือหลักฐานในการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขดังกล่าว
1.4.3) หากแก้ไขทางวิศวกรรมไม่ได้ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ตามที่กำหนดไว้
1.5 หากในสถานที่ทำงานค่าระดับเสียงเกินกว่าที่กำหนดในข้อ 1.1 – 1.3 นายจ้างต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
1.5.1) ให้ หยุดทำงาน และปรับปรุงแก้ไขทางด้านวิศวกรรม โดยควบคุมที่ต้นกำเนิดเสียง หรือทางผ่านของเสียง หรือจัดการเพื่อควบคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับไม่ให้เกินกำหนด
1.5.2) จัดให้มีการปิดประกาศและเอกสารหรือหลักฐานในการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขดังกล่าว
1.5.3) หากแก้ไขทางวิศวกรรมไม่ได้ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ตามที่กำหนดไว้ เพื่อให้ค่าระดับเสียงภายในหูของผู้ใส่อุปกรณ์ไม่เกินมาตรฐาน ในข้อ 1.1-1.3
2. คำแนะนำเกี่ยวกับคุณสมบัติของเครื่องวัดเสียง
2.1 กิจการที่มีแหล่งกำเนิดเสียง หรือสภาพการทำงานที่อาจจะทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากเสียง จะต้องมีการตรวจวัดและรายงานผลต่อเจ้าหน้าที่
2.2 เครื่องวัดเสียง ต้องได้มาตรฐาน IEC 61672 หรือ IEC 651 Type 2
2.3 เครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม (Noise Dosimeter) ต้องได้มาตรฐาน IEC 61252
2.4 เครื่องวัดเสียงกระทบ หรือเสียงกระแทก ต้องได้มาตรฐาน IEC 61672 หรือ IEC 60804
2.5 ก่อนทำการตรวจวัดเสียงจะต้องทำการปรับเทียบด้วย Sound Calibrator ที่ได้มาตรฐาน IEC 60942 หรือเทียบเท่า
2.6 ทั้งเครื่องวัดเสียง เครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม และ Sound Calibrator จะต้องส่งสอบเทียบอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
2.7 แต่หากสถานประกอบดิจการมีเครื่องตรวจวัดเสียงที่ใช้ภายในสถานประกอบกิจการเพียงแห่งเดียว ให้ปรับเทียบทุกๆ 2 ปี
เครื่องวัดเสียง Nti รุ่น XL2 ความแม่นยำระดับ Class2 วัดได้ตั้งแต่ 29 dBA – 144 dB(SPL)
3. วิธีการตั้งค่าเครื่องวัดเสียงและเครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม ตามที่กฏหมายใหม่กำหนด
3.1 วิธีการตั้งค่าเครื่องวัดเสียง (Sound level meter) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
– ตั้งค่าเครื่องวัดเสียง สเกลเอ (Scale A)
– การตอบสนองแบบช้า (Slow)
– ตำแหน่งของเครื่องวัดเสียงจะต้องอยู่ในระดับหูของ ผู้ปฏิบัติงาน และห่างในรัศมีไม่เกิน 30 ซม
3.2 วิธีการตั้งค่าเครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม (Noise Dosimeter) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
– ค่า Threshold Level* เท่ากับ 80 dBA
– ค่า Criteria Level** เท่ากับ 85 dBA
– ค่า Energy Exchange Rate*** เท่ากับ 3
* ค่า Threshold Level คือค่าที่ระดับเสียงต่ำสุดที่สั่งให้เครื่อง Noise Dosimeter เริ่มทำการวัดเสียง
** ค่า Criteria Level คือค่าระดับเสียงคงที่สูงสุดที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับภายในระยะเวลา 8 ชั่วโมง
*** ค่า Energy exchange Rate คือ ค่าระดับเสียงคงที่ ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงเท่ากับค่า exchange rate จะทำให้ระยะเวลาในการสัมผัสเสียงลดลงครึ่งหนึ่ง
4. วิธีการคำนวณเพื่อหาค่า TWA ตามที่กฏหมายแนะนำ
การคำนวณค่า TWA สามารถคำนวณโดยใช้สมการดังต่อไปนี้
5. ตัวอย่างการคำนวณเพื่อหาค่า TWA ในกรณีต่างๆ
5.1 พนักงานทำงานระดับเสียงคงที่ 8 ชั่วโมง
5.2 พนักงานทำงานระดับเสียงคงที่ 8 ชั่วโมง
5.3 พนักงานทำงานเสียงคงที่ 8 ชั่วโมง แต่วัดเสียงได้แค่ 4 ชั่วโมง
5.4 พนักงานทำงานเสียงคงที่ 12 ชั่วโมง
5.5 พนักงานทำงานเสียงคงที่ 12 ชั่วโมง แต่วัดเสียงได้แค่ 9 ชั่วโมง
5.6 พนักงานทำงานเสียงคงที่ 10 ชั่วโมง และวัดเสียงได้ 10 ชั่วโมง
6. ผลกระทบของการเปรียบแปลงค่า Energy Exchange rate จาก 5 เป็น 3
จะเห็นว่ากฏหมายใหม่ พนักงานทำงาน 8 ชั่วโมง ระดับเสียงจะต้องไม่เกิน 85 dBAและ เสียงดังเพิ่มขึ้น 3 เดซิเบล เวลาทำงานจะลดลงเหลือแค่ครึ่งเดียว
7. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงค่า TWA ระหว่างกฏหมายเก่าและกฏหมายใหม่
หากพิจารณถึงตัวอย่างในการคำนวณค่า TWA โดยมีการเปรียบเทียบระหว่างกฏหมายเก่าและกฏหมายใหม่จะมีข้อน่าสังเกตุดังแสดง
ค่า Exchange Rate ที่ ลดลง จาก 5 เหลือ 3 หมายความว่า หากสถาวะการทำงานมีระดับเสียงสูงขึ้นกว่าเดิม 3 dBA ระยะเวลาการทำงานของผู้ปฏิบัติงานลดลงเหลือครึ่งเดียว
ค่า TWA ที่ลดลงจาก 90 dBA เหลือ 85 dBA หมายความว่า ในการทำงาน 8 ชั่วโมง ค่าระดับความดังสะสม (TWA) จะเหลือแค่ 85 dBA เท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ ในช่วงรอยต่อในการเปลี่ยนแปลงกฏหมาย การวัดด้วยข้อกำหนดของกฏหมายใหม่จะทำให้ค่าระดับเสียงสะสมสูงขึ้น โดยหากเป็นกรณีที่สถาวะทำงานนั้นมีค่า TWA ใกล้ๆเคียงกับ 90 dBA ตามกฏหมายเดิม ย่อมหมายความว่า หากปฏิบัติตามกฏหมายใหม่ ค่าระดับเสียงต้องเกินกว่าที่กฏหมายกำหนดอย่างแน่นอน จึงเป็นเหตุผลที่เจ้าของสถานประกอบการ จะต้องเตรียมตัวในการกำหนดหรือดำเนินการเรื่องมาตรการในการควบคุมเสียงรบกวน
นอกจากนี้ ในด้านของบริษัทที่รับตรวจวัด จะต้องพบกับคำถามที่ไม่ค่อยจึงพึงพอใจจากทางเจ้าของกิจการซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างว่า ทำไมค่าระดับเสียงสูงขึ้น !!! และอาจจะเกินมาตรฐานที่กฏหมายกำหนด ดังนั้น เพื่อช่วยในการอธิบายผู้ว่าจ้าง จึงควรทำการตรวจวัดทั้งตามข้อกฏหมายเดิม และกฏหมายใหม่ เพื่อนำเสนอแก่ผู้ว่างจ้าง รวมทั้งการอธิบายถึงสาเหตุที่ค่าระดับเสียงเพิ่มขึ้น ดังนั้น เครื่องมือวัดที่สามารถรายงานผลการตรวจวัดที่อ้างอิงได้ทั้งกฏหมายเดิม และกฏหมายใหม่ พร้อมกันจึงมีความจำเป็น ในช่วงเวลานี้ !!!
8. การคำนวณระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
มีวิธีการคำนวณ 2 วิธีคือ
- การคำนวณโดยใช้ค่า Noise Reduction Rating (NRR) ที่ระบุไว้บนผลิตภัณฑ์กับค่าตรวจวัดระดับเสียงเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน (Leq) ดังนี้
Protected dBA = Sound Level dBC – NRRadj
Protected dBA = Sound Level dBA – [NRRadj – 7]
Protected dBA หมายถึง ระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยในสเกล A
Sound Level dBC (LCeq) หมายถึง ระดับเสียงที่ได้จากการตรวจวัดเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชม ในสเกล C
Sound Level dBA (LAeq) หมายถึง ระดับเสียงที่ได้จากการตรวจวัดเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชม ในสเกล A
NRRadj หมายถึง ค่าการลดเสียงที่ระบุไว้บนฉลาก (NRR) โดยจะต้องมีการปรับลดตามชนิดของอุปกรณ์ดังต่อไปนี้
– ที่ครอบอุดหู ปรับลด 25 % -> NRRadj = 75% (NRR)
– ปลั๊กลดเสียงชนิดโฟม ปรับลด 50 % -> NRRadj = 50% (NRR)
– ปลั๊กลดเสียงชนิดอื่น ปรับลด 70 % -> NRRadj = 30% (NRR)
- การคำนวณโดยใช้ค่า Single Number Rating (SNR) ที่ระบุไว้บนผลิตภัณฑ์กับค่าตรวจวัดระดับเสียงเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน
L’AX หมายถึง ระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัย ในสเกล A
LC หมายถึง ระดับเสียงที่ได้จากการตรวจวัดเฉลี่ยตลอดระยะการทำงาน 8 ชั่วโมง ในสเกล C
SNRX หมายถึง ค่าการลดเสียงที่ระบุไว้บนฉลาก / ผลิตภัณฑ์ ของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
หมายเหตุ มีหลายท่านอาจจะประสบปัญหาที่ใช้สูตรคำนวณตามที่ทางกฏหมายกำหนด เสียงที่ได้รับของลูกจ้างที่ใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลยังค่อนข้างสูง หากเทียบกับการคำนวณของมาตรฐาน OSHA สาเหตุเนื่องจากทางคณะกรรมการ ได้เห็นชอบว่านายจ้างจะต้องทำการควบคุมเสียงที่แหล่งกำเนิดก่อนให้ลูกจ้างใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ดังนั้นยังยืนยันที่จะใช้สูตรการคำนวณนี้ในการประเมินต่อไป
9. อธิบายนิยามความหมายของตัวแปรเกี่ยวกับเสียงที่กฎหมายได้กล่าวถึง
9.1 ค่าระดับเสียงเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน (Sound Level Equivalent, Leq)
ค่า Leq เป็นค่าระดับเสียงที่ทำการเฉลี่ยเทียบกับระยะเวลาการวัดทั้งหมด ในกรณีที่มีค่าระดับเสียงกระทบกระแทก ค่า Leq เป็นค่าเฉลี่ยระดับเสียงที่เบา และระดับเสียงที่ดังรวมกัน ดังนั้นค่า Leq ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นตัวแทนของระดับเสียงที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันมาก แต่ค่า Leq เหมาะสำหรับเป็นตัวแทนของค่าระดับเสียงที่มีลักษณะคงที่
9.2 ค่าระดับเสียงสูงสุด (Peak Sound Pressure Level) คือค่าระดับเสียงสูงสุดของคลื่นเสียงที่เครื่องวัดเสียงสามารถตรวจจับได้ โดยไม่มีการหาค่าเฉลี่ยเทียบกับเวลาใดๆ หรือความไวของเครื่องวัดใดๆทั้งสิ้น (True peak value)
ค่า Peak เหมาะที่จะใช้ในการตรวจวัดและบ่งชี้ค่าความรุนแรงของเสียงกระแทกที่เกิดขึ้นและหยุดลงอย่างรวดเร็วในเวลาสั้นมากๆ
9.3 ค่า RMS (Root Mean Square) คือ ค่าเฉลี่ยพลังงานของคลื่นเสียง (พูดง่ายๆ คือ ค่าเฉลี่ยพื้นที่ใต้กราฟของคลื่นเสียง ซึ่งนิยมนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์เพื่อประเมินความรุนแรงของพลังงานเสียงที่ได้รับ
วิธีการคำนวณคือการยกกำลังสองขนาดของคลื่นเสียงแล้วนำผลรวมมาถอดรากที่สองอีกครั้ง โดยปกติกรณีที่ค่าระดับเสียงคงที่ค่า RMS จะมีขนาดเท่ากับ ขนาด โดย A คือขนาดสูงสุดของคลื่นเสียง
ซึ่งค่า RMS จะเหมาะสมกว่าการใช้ค่าเฉลี่ย (Average) เนื่องจากค่าเฉลี่ย เป็นเพียงการเอาขนาดความสูงของคลื่นเสียงมาหาค่าเฉลี่ยเท่านั้น ซึ่งไม่ได้สะท้อนถึงพลังงานของคลื่นเสียงที่มนุษย์ได้รับ
ดังนั้นโดยทั่วไปค่าระดับเสียงในหน่วยเดซิเบลจึงมีพื้นฐานการคำนวณโดยวิธี Root Mean square เสมอ
9.4 ค่าระดับเสียงที่มีระดับความดังต่อเนื่องแบบคงที่สูงสุด (Maximum sound pressure level, Lmax) คือค่าระดับเสียงสูงสุดของคลื่นเสียงที่มีการคำนวณโดยวิธี RMS ดังที่ได้อธิบายไว้ในข้อที่ 2.2 โดยค่า Lmax นิยมใช้เพื่อประเมินความรุนแรงของพลังงานเสียงที่มีความดังค่อนข้างคงที่ ซึ่งหูมนษย์ได้รับ
9.5) ค่าความถ่วงน้ำหนักความถี่ (Frequency Weighting)
หูของคนเราตอบสนองความดังที่แต่ละความถี่ไม่เท่ากัน เราสามารถดูได้จากกราฟ Equal Loudness contour ที่แสดงไว้ด้านล่าง
กราฟ Equal Loudness contour ถูกนำเสนอโดย Flectcher-Munson ซึ่งเป็นการทดลองจากการเก็บข้อมูลความรู้สึกของการรับรู้เสียงดังของคนจริงๆ ในแต่ละช่วงความถี่ โดยเก็บข้อมูลจำนวนมาก ก่อนที่จะสรุปและเผยแพร่ Equal Loudness contour ออกมา เราจะเห็นได้ว่า ในแต่ละเส้นจะแสดงความรู้สึกของหูหนุษย์ที่รับรู้ความดังใกล้เคียงกัน ที่แต่ละความถี่ ยกตัวอย่างเช่น หากที่ความถี่ 1000 Hz มนุษย์รับรู้เสียงดังเท่ากับ 60 เดซิเบล แต่ที่ความถี่ 100 Hz เสียงจะต้องดังเพิ่มขึ้นเป็น 68 เดซิเบล หูมนุษย์จึงจะรับรู้ว่าเสียงดังเท่ากัน
สิ่งที่น่าสังเกต ก็คือ หูของคนเราจะไวต่อเสียงแหลม และไม่ค่อยตอบสนองกับเสียงความถี่ต่ำ โดยจากกราฟจะเห็นได้ว่า เราได้ยินเสียงต่ำที่ดังมาก ก็ยังไม่รู้สึกว่าดัง เมื่อเทียบกับเสียงสูง
แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจก็คือ เมื่อหูมนุษย์ได้ยินเสียงที่ระดับความดังมากๆ กลายเป็นว่า การตอบสนองการรับรู้ของความดังแต่ละความถี่จะเริ่มใกล้เคียงกันมากขึ้น ดังนั้นในกฏหมายใหม่จึงเลือกใช้ค่าถ่วงน้ำหนักแบบ C สำหรับค่าระดับเสียงสูงสุด (Peak)
ซึ่ง A weighting ก็คือการใช้ลักษณะรูปร่างของเส้น Equal loudness ที่ 40 phon (เส้นที่ความถี่ 100 Hz มีค่าเท่ากับ 40 dB) มาพลิกกลับเพื่อนำมาหักลบกับระดับเสียงความดังแบบ Linear โดยในทางเทคนิค ช่วยให้ค่าระดับเสียงที่มีการปรับแก้ จะสอดคล้องกับความดังที่หูของมนุษย์รับรู้ครับ
นอกจากนั้นยังมีข้อดีของ A weighting ในการวัดเสียงในงาน Enivornmental noise เพราะว่าช่วยลม effect จากเสียงลม หรือเสียงจากแหล่งกำเนิดที่ไกลจากตำแหน่งที่เราวัดมากๆ ได้ด้วย
ในทำนองเดียวกัน สำหรับ C weighting ก็ใช้รูปร่างของเส้น equal loudness contour ที่ 100 Phon กลับด้านและนำมาหักลบเช่นกัน
9.6 ค่าถ่วงน้ำหนักเวลา (Time weighting) คือระยะเวลาที่เครื่องจะใช้ในการเฉลี่ยนผลข้อมูลที่วัดได้ หรือพูดอีกความหมายคือ ค่าความไวในการประมวลผลข้อมูลของเครื่องวัดเสียง โดยความไวมี 3 แบบคือ Fast (125 มิลลิวินาที), Slow (1000 มิลลิวินาที) และ Impulse (35 มิลลิวินาที)
10. การตั้งค่าเครื่องวัด NTi และการวิเคราะห์ผลการวัด ที่สอดคล้องตามกฎหมายใหม่
เนื่องจากข้อกำหนดเกี่ยวกับกฏหมายใหม่นั้น มีการกำหนดรูปแบบของผลวัดหลากหลายรูปแบบ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เครื่องวัดเสียงจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจวัดรูปของผลได้หลายรูปแบบในการตรวจวัดเพียงครั้งเดียว
เครื่องวัดเสียงมีคุณสมบัติที่สามารถทำการตรวจวัดเสียงในรูปแบบที่แตกต่างกันมากถึง 3 รูปแบบในการตรวจวัดเพียงครั้งเดียว
เพื่อสะดวกในการเลือกรูปแบบการตรวจวัด จึงแนะนำวิธีการเลือกรูปแบบการวัดดังต่อไปนี้
10.1 การเลือกรูปแบบการวัดสำหรับเครื่องวัดเสียง
10.2 การเลือกรูปแบบการวัด สำหรับเครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม
** เราจะปรับ Time Weighting เป็นแบบ Impulse เพื่อกิจกรรมภายในสถานประกอบการมีเสียงกระทบหรือเสียงกระแทกที่ดังอย่างชัดเจน
ตัวอย่างหน้าจอการตรวจวัดค่าต่างๆ ตามที่แนะนำในหัวข้อ 10.1
11. สรุปแนวทางตามประกาศของกรมสวัสดิ์เกี่ยวกับมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน
เพื่อให้ง่ายต่อการสร้างความเข้าใจ จึงนำเสนอในรูปแบบของแผนภาพดังต่อไปนี้
12. สรุปลำดับแนวทางในการจัดทำเอกสารมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน
12.1 จัดทำเอกสารรายงานผลการตรวจวัดและวิเคราห์สภาพการทำงานเกี่ยวกับเสียง ตามคำแนะนำในประกาศ
12.2 ในกรณีที่ลูกจ้างสัมผัสระดับเสียงเกินมาตรฐานที่กำหนด (TWA เกินกว่า 85 dBA) นายจ้างจะต้องดำเนินโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ดังต่อไปนี้
12.2.1) จัดให้ลูกจ้างทำการตรวจทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน แจ้งผลตรวจภายใน 7 วัน หลังจากนายจ้างได้รับผล
12.2.2) กรณีผลการตรวจวัดสมรรถภาพ พบว่าลูกจ้างมีอาการสุญเสียการได้ยิน จะต้องจัดให้ลูกจ้างทำการตรวจทดสอบสมรรถภาพการได้ยินอีกครั้ง ภายใน 30 วัน นับแต่นายจ้างทราบผล
12.3 จัดทำป้ายแผนผังระดับเสียง (Noise contour mapping) โดยใช้ค่า LAeq ที่ทำการวัดตามระยะเวลาของรอบเสียงรบกวนรบกวนที่เกิดขึ้น หากเป็นระดับเสียงคงที่ให้ทำการวัดเป็นเวลา 5 นาที
12.4 จัดทำป้ายแจ้งเตือนในแต่ละพื้นที่ (รายละเอียดเป้ายมีการอธิบายในหัวข้อที่ 13) เน้นบริเวณพื้นที่เข้า-ออก พื้นที่ที่มีความเสี่ยง โดยใช้ค่า LAeq ที่ทำการวัดตามระยะเวลาของรอบเสียงรบกวนรบกวนที่เกิดขึ้น หากเป็นระดับเสียงคงที่ให้ทำการวัดเป็นเวลา 5 นาที มากกว่า 85 dBA
12.5 กำหนดนโยบายอนุรักษ์การได้ยิน โดยเริ่มทำเรียงตามลำดับความสำคัญ ดังต่อไปนี้
– การจัดทำการควบคุมเสียงรบกวนในทางวิศวกรรม โดยการลดเสียงจากแหล่งกำเนิดหรือจากช่วงทางเดินของเสียง
– จัดใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เพื่อไม่ให้ค่า TWA เกินกว่า 85 dBA
– ปรับเปลี่ยนตำแหน่งงาน ระยะเวลาการทำงาน เพื่อให้ลูกจ้างมีค่า TWA ไม่เกิน 85 dBA
– จัดอบรมความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการสัมผัสเสียงดัง การป้องกัน การควบคุม การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ถูกวิธี
หมายเหตุ วัตถุประสงค์ที่เน้นบริเวณพื้นที่ เข้า-ออก เพื่อเป็นการแจ้งเตือนลูกจ้างที่กำลังจะเข้าไปทำงานในพื้นที่เสี่ยงให้สวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
13. ขยายความรูปแผนผนังระดับเสียง (Noise Contour Map)
ค่าระดับเสียงที่ใช้เพื่อการสร้างแผนผังระดับเสียง ให้ใช้ค่า โดยใช้ค่า LAeq ที่ทำการวัดตามระยะเวลาของรอบเสียงรบกวนรบกวนที่เกิดขึ้น หากเป็นระดับเสียงคงที่ให้ทำการวัดเป็นเวลา 5 นาที
ในทำนองเดียวกันค่าระดับเสียงที่ระบุบนแผ่นป้ายแจ้งเตือนนั้น วัตถุประสงค์หลักของกรมสวัสดิ์ฯ ต้องการให้มีการแจ้งเตือนแก่แก่ลูกจ้างที่กำลังจะเข้าไปทำงานในพื้นที่เสี่ยงได้ตระหนักตนเอง และเตือนให้ทำการสวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลก่อนเข้าไปทำงาน ดังนั้นป้ายแจ้งเตือนจึงเน้นติดตั้งแค่ ณ บริเวณทางเข้าออกพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ไม่จำเป็นต้องติดตั้งกระจายตลอดพื้นที่โรงงาน
โดยเพื่อความเข้าใจตรงกันของข้อความที่ระบุไว้ในป้ายแจ้งเตือน ทางกรมสวัสดิ์ฯ แนะนำให้เขียนระบุเกี่ยวกับระดับเสียงสูงสุด ดังต่อไปนี้
A. หากพื้นที่ทำงานมีลักษณะเป็นเสียงกระแทก ควรจะต้องระบุเป็นค่า LCpeak
B. หากพื้นทีทำงานมีลักษณะเป็นเสียงดังคงที่ ควรจะต้องระบุเป็นค่า LAmax
C. หากกรณีเสียงการทำงานแบบไม่คงที่ ให้ระบุค่า LAeq สูงสุดจากแผนผังระดับเสียง ณ บริเวณนั้น
ป้ายแจ้งเตือนต้องมีขนาดใหญ่กว่าขนาดที่ทาง กรมสวัสดิ์แนะนำ เพื่อให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
14. ตัวอย่างการสร้างแผนผังระดับเสียง (Noise contour mapping) ด้วยโปรแกรม Noise at work
โดยโปรแกรมสามารถทำการสร้างแผนผังระดับเสียงอย่างง่ายดาย เพียงแค่ทำการกำหนดตำแหน่งผลวัดและระบุค่าระดับเสียงของแต่ละตำแหน่งเท่านั้น
ประโยชน์ของแผนผังระดับเสียง นอกจากจะแสดงภาพรวมของระดับเสียงที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่สถานประกอบ ยังสามารถนำแผนผังระดับเสียงนี้มากำหนดนโยบายการอนุรักษ์การได้ยินได้ โดยเฉพาะมาตรการในการปรับเปลี่ยนตำแหน่ง, พื้นที่ หรือ ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างในพื้นที่ เพื่อควบคุมไม่ให้ค่า TWA ของลูกจ้างแต่ละคนไม่เกิน 85 dBA ตามที่กฏหมายได้กำหนด
โปรแกรม Noise at work มีฟังก์ชั่นเสริม ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถวางแผน ตำแหน่งการทำงาน และระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ได้อย่างง่ายดาย
15. ขยายความเกี่ยวกับ แบบรายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับเสียง
ในการตรวจวัดและรายงานผลการตรวจวัด ตามคำแนะนำของประกาศ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เกี่ยวเสียงภายในสถานประกอบการ ได้แนะนำรูปแบบรายงาน 2 รูปแบบ คือ
- รูปแบบรายงานที่ใช้เครื่องวัดเสียง (Sound level meter) ในการตรวจวัด เพื่อรายงานผลค่า TWA
เนื่องจากฟังก์ชั่นเครื่องวัดเสียงทั่วไปจะไม่สามารถแสดงค่า TWA ของผลการวัดโดยตรงได้ ทำให้ ผู้ที่ใช้เครื่องวัดเสียงทำการตรวจวัดค่า TWA จะเป็นจะต้องคำนวณด้วยตัวเอง โดยใช้สมการในการคำนวณดังต่อไปนี้
16. ตัวอย่างรูปแบบรายงานการตรวจวัดเสียงด้วยเครื่องวัดเสียง (Sound level meter)
17. ตัวอย่างการคำนวณเพื่อหาค่า TWA ในกรณีตรวจวัดเสียงด้วยเครื่องวัดเสียง (Sound level meter )
18. รูปแบบรายงานที่ใช้เครื่องวัดระดับเสียงสะสม (Noise Dosimeter) ในการตรวจวัด เพื่อรายงานผลค่า TWA
19. ตัวอย่างการคำนวณเพื่อหาค่า TWA ในกรณีตรวจวัดเสียงด้วยเครื่องวัดระดับเสียงสะสม (Noise Dosimeter )
ข้อมูลอ้างอิง
- ประกาศกฏกระทรวงแรงงาน กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง 17 ตุลาคม พศ 2559
- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การคำนวณระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล 14 กุมภาพันธ์ 2561
- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน 26 มกราคม 2561
- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณธ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ 12 มีนาคม 2561
- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบการ 12 มิถุนายน 2561
- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบรายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงาน เกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียงภายในสถานประกอบกิจการ